แมงมุมสีน้ำตาลพิษร้ายทำเนื้อตาย

แมงมุมสีน้ำตาล เป็นแมงมุมชนิดหนึ่งพบมากได้ทางภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ขนาดของร่างกายมันมีขนาดเล็กมากประมาณ 6-20 มิลลิเมตร ลักษณะเฉพาะ คือมีลำตัวสีน้ำตาลอ่อนค่อนไปทางสีเหลืองเข้ม มีขนาดเล็ก ส่วนจุดเด่นคือด้านหลังของแมงมุมสีน้ำตาล ตรงช่วงหัวจนถึงอก จะมีลายสีเข้มๆไปถึงดำคล้ายรูปเครื่องดนตรีไวโอลิน โดยหันส่วนที่เป็นด้ามจับไปทางตรงข้ามกับหัว มีขาเรียวยาว  แมงมุมสีน้ำตาลตัวเมียวางไข่คราวละ 50 ฟอง ใช้เวลาฝักไข่นาน 1 เดือน โตเต็มวัย  1 ปี มีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี ชอบอยู่ในที่มืด แห้ง เงียบ  แบบเดียวกับแมงมุมแม่ม่ายดำ อาหารอันแสนอร่อยคือแมลง  ออกจากรังเพื่อล่าสัตว์ในเวลากลางคืน ชอบอาศัยอยู่ในที่มืดๆ เช่น ห้องใต้หลังคา ตู้เสื้อผ้า รองเท้า เตียงนอน เป็นต้น มนุษย์อย่างเราๆ อาจถูกกัดได้ หากไปโดนแบบบังเอิญ

อาการหลังถูกกัด

ความรุนแรงล้วนแตกต่างกันตามแต่ล่ะบุคคล โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักไม่มีค่อยอาการรุนแรงไหร่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของสารพิษ เรียกว่า sphingomyelinase D  ยิ่งถ้าโดนกัดหลายตัว หลายจุดบนร่างกาย  ปริมาณของพิษก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วยตามลำดับ บริเวณผิวหนังที่ถูกกัดมักมีอาการรุนแรง เมื่อตอนโดนมันกัดมักจะไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะเริ่มมีอาการปวด คันบริเวณที่ถูกกัดหลังจากนั้นให้หลังประมาณ 2-8 ชั่วโมง เกิดเป็นตุ่มน้ำ อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนผู้ป่วยทนไม่ไหว ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัดตายได้ถึง 37  %  สามารถเกิดเป็นแผลเป็นขนาดใหญ่ได้ถึง 25 เซนติเมตร

การรักษาเมื่อโดนแมงมุมสีน้ำตาลกัด

เมื่อรู้ตัวว่าถูกแมงมุมชนิดนี้กัด การปฐมพยาบาลที่คุณควรทำอย่างเร่งด่วนในเบื้องต้น คือ การล้างแผลด้วยสบู่ ตามด้วยการประคบน้ำแข็ง ยกบริเวณที่โดนกัดให้สูง ห้ามนวดหรือประคบด้วยน้ำร้อน รวมทั้งห้ามทำให้บริเวณแผลเกิดความอึดอัดโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้พิษกระจายตัวได้ดียิ่งขึ้น หลังจากนั้นควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที ถ้าจะให้ดีนำแมงมุมที่กัดไปด้วยเพราะไม่มียาชนิดจำเพาะซึ่งใช้ในการรักษาพิษของแมงมุมสีน้ำตาล ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคองตามอาการ โดยแพทย์อาจพิจารณา ในการฉีดวัคซีนกันบาดทะยัก ยาแก้ปวด แก้คัน ส่วนบางรายที่เกิดสภาวะแทรกซ้อนทางโลหิต แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอื่น ร่วมด้วยๆ เช่น สเตียรอยด์ เป็นต้น ส่วนสำคัญ คือ ต้องไปติดตามอาการทุกวันอย่างต่ำเป็นเวลา 4 วันหลังถูกกัด เพื่อดูอาการแผลเนื้อตายบริเวณที่ถูกกัด