ข้อควรระวัง สัตว์มีพิษ แมงมุมแม่ม่าย สีน้ําตาล

แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล (Latrodectus geometricus) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์แม่ม่าย (Latrodectus) เป็นญาติในตระกูลของสายพันธุ์ที่โด่งดังสุดอย่าง แม่ม่ายดำ (Latrodectus mactancs) พวกมันมีลักษณะลำตัวที่เล็กกว่าพวก มีสีที่สว่างกว่าเช่น สีดำน้ำตาล สีเทา มีถิ่นอาศัยเดียวกับแม่ม่ายน้ำในทวีปสหรัฐอเมริกา มีเครื่องหมายรูปนาฬิกาทรายด้านล่างของช่องท้อง มักจะมีสีส้มสดใสหรือสีเหลือง ซึ่งแตกต่างจากแม่ม่ายดำตรงที่ มีลวดลายเรขาคณิตสีดำและสีขาวที่ด้านหลังของช่องท้อง ขามีลายเส้นคาดดำเป็นช่วง ม่ายน้ำตาลมักตกเป็นเหยื่อของพวกแตน (Mud dauber) พวกแม่ม่ายน้ำตาลสามารถพบได้โดยการหาถุงไข่ที่มีเอกลักษณะโดดเด่น คล้ายกับลูกหนามที่มีปลายแหลมคม ใช้เวลาประมาณ 20 วันในการฟักไข่ ตัวเมียวางไข่ประมาณ 120 – 150 ฟองต่อถุง ตลอดชีวิตสามารถผลิตไข่ 20 ถุง พวกมันชอบที่จะชักใยอยู่ในสถานที่เงียบสงบรอบๆ บ้าน หรือตามต้นไม้ อาจพบพวกมันทำรังอยู่ในภาชนะเปล่าเช่น ถัง หม้อ กล่องจดหมาย ใต้ชายคาตู้เสื้อผ้า ที่เก็บของ ถังขยะพลาสติก ช่วงล่างของยานยนต์และด้านล่างของเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง แมงมุมชนิดนี้เลือกสถานที่กลางแจ้งในที่สว่างทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์เช่นการถูกพวกมันกัด ดังนั้นจึงควรระวังอยู่เสมอเมื่อหยิบจับอะไร ความอันตรายที่ควรพึงระวัง พิษของพวกมันมีความรุนแรงต่อระบบประสาท พิษทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่าง “Latrodectism” อย่างไรก็ตามการกัดแม่ม่ายสีน้ำตาลมักไม่เป็นอันตราย มักจะอันตรายน้อยกว่าของแม่ม่ายดำ ผลกระทบของสารพิษมักจะถูกจำกัดบริเวณอยู่ตรงที่ถูกกัด […]
Read More ข้อควรระวัง สัตว์มีพิษ แมงมุมแม่ม่าย สีน้ําตาล